Skip to main content

หน้าหลัก

ข้อมูล ด้านแรงงาน

สถานการณ์แรงงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

1. ภาพรวมสถานการณ์แรงงาน

        ปัญหา การว่างงานถือเป็นปัญหาเรื้อรังของสหพันธ์ฯ มานับเวลามากกว่า 10 ปี โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเยอรมันตะวันออก  การมีจำนวนแรงงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานแรงงาน  การมีจำนวนผู้ตกงานเกินกว่า 1 ปี สะสมจำนวนมาก และการจ้างงานสำหรับแรงงานที่มีทักษะน้อยค่อนข้างต่ำ เป็นต้น เมื่อพิจารณาสถิติอัตราว่างงานซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศมาโดยตลอดหลาย ปีที่ผ่านมา  อัตราว่างงานของสหพันธ์ฯ โดยรวมยังคงสูงอยู่  คือประมาณร้อยละ 10.1  และอัตราว่างงานในฝั่งเยอรมนีตะวันออกยังคงอยู่ในระดับสูงมาก   อย่างไรก็ดี จากสถิติอัตราการว่างงานที่รัฐบาลประกาศล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีคนว่างงานในสหพันธ์ฯ รวม 4.2 ล้านคน โดยอัตราการว่างงานในเดือนดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 10.1  ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเยอรมนีฝั่งตะวันออกมีอัตราสูงถึงร้อยละ 16.9  และฝั่งตะวันตกมีอัตราร้อยละ 8.4

        ผู้ว่างงานส่วนใหญ่ในสหพันธ์ฯ จะเป็นกลุ่มสตรี  กลุ่มคนงานที่มีทักษะต่ำและสูงอายุ  ทั้งนี้ เป็นผลมาจากระบบของตลาดแรงงานเยอรมันที่ขาดความยืดหยุ่นในการกระจายกลุ่มแรง งาน และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศ   สำหรับระบบการจ้างงานนั้น สหพันธ์ฯ มีระบบที่นายจ้างสามารถทำสัญญาจ้างลูกจ้างเป็นการชั่วคราวได้  ซึ่งส่งผลให้แรงงานสตรี และแรงงานที่อายุยังน้อย มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้จ้างงานระยะยาว  รวมถึงการไม่ยอมรับลูกจ้างสูงอายุ   ระบบดังกล่าวทำให้การจ้างงานในสหพันธ์ฯ เป็นระบบที่ไม่โปร่งใส  และทำให้ตลาดแรงงานมีการแบ่งแยกประเภทแรงงานอย่างชัดเจน     นอกจากนี้   การดำเนินการส่งเสริมการขยายตัวของตลาดแรงงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  เช่น  การให้ความสำคัญต่อการให้สิทธิประโยชน์ต่อผู้ที่ตกงานมากกว่าลูกจ้างที่มี งาน  อัตราว่างงานในเยอรมนีตะวันออกที่สูงนี้ ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการจ่ายเงินชดเชยให้แรงงานเพิ่มมากขึ้น ภายใต้กรอบการปฏิรูป 2010 ในส่วนของการพัฒนาตลาดแรงงาน (Hartz IV) นั้น รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายเงินช่วยค่าตกงานแผนใหม่ (Arbeitslosengeld II – ALG) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยกฎหมายได้กำหนดแผนจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้ตกงานว่า รัฐจะจ่ายเงินสงเคราะห์ซึ่งเป็นเงินค่าเช่าบ้าน และเงินช่วยค่าครองชีพรวมเข้าด้วยกัน และจะคำนวณเงิน ALG ตามสภาพเศรษฐกิจของผู้ขอ คือ รายได้ ทรัพย์สิน จำนวนบุตร และความเจ็บป่วยของผู้ตกงาน เป็นต้น ซึ่งจากการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ได้ส่งผลให้มีผู้ไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดการประท้วงหลายครั้งเมื่อต้นเดือนกันยายน 2547

        นอกจากนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของตลาดแรงงานสหพันธ์ฯ ในช่วงปีที่ผ่านมา  คือ การขยายระยะเวลาการทำงานให้ยาวนานขึ้น โดยไม่มีค่าชดเชยด้านแรงงาน  โดยในช่วงกลางปี 2547 ได้มีข่าวว่า บริษัท DaimlerChrysler AG, Thomas Cook AG ซึ่งเป็นบริษัทท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และ Siemens ได้ตกลงกับสหภาพแรงงานในการขยายเวลาการทำงานให้นานขึ้นโดยไม่เพิ่มอัตราค่า จ้าง ทั้งนี้ ในส่วนของ Siemens นั้น เป็นข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ย้ายฐานการผลิตไปยังฮังการีด้วย
 แม้ ว่าสหพันธ์ฯ จะประสบปัญหาอัตราการว่างงานสูง  สหพันธ์ฯ ยังคงขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงในหลายส่วนงาน  รัฐบาลจึงได้มีนโยบายที่จะดึงดูดแรงงานที่มีทักษะและฝีมือขั้นสูงในสาขา IT ให้เข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ  ภายใต้โครงการ “Green Card program”   โดยในปี 2547  มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในสายงานด้าน IT กว่า 17000 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีประมาณ 11,230 คน  โดยรัฐบาลสหพันธ์ฯ อนุญาตให้อยู่ทำงานในประเทศโดยออก residence permit ให้สามารถทำงานในสหพันธ์ฯ ได้ 5 ปี  ซึ่งบุคลากรที่ได้เข้ามาทำงานในสายงานนี้ส่วนใหญ่จะมาจากอินเดียและจีน และเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในด้าน applied science

        จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติของสหพันธ์ฯ  ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2549 สหพันธ์ฯ มีการจ้างงานรวม 36.56 ล้านคน  คิดเป็นอัตราการจ้างงานร้อยละ 88.84 ขณะที่ในปี 2547 สหพันธ์ฯ มีการจ้างงานรวมกว่า 35.65 ล้านคน โดยอัตราการจ้างงานในแต่ละไตรมาสเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 มีอัตราจ้างลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1  แต่สถิติการจ้างงานในรูปของ self-employment มีอัตราสูงขึ้น โดยในปี 2548 มีจำนวนกว่า 4 ล้านคน

2. นโยบายที่สำคัญด้านแรงงาน

2.1 นโยบายด้านแรงงานที่ผ่านมา                
        ในช่วงการบริหารงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีคนก่อนคือ Schroeder   ได้มีนโยบายและการออกระเบียบด้านแรงงานที่สำคัญเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย Agenda 2010 ได้แก่ 
              – การดำเนิน การต่อเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมาย The Job-AQTIV Act ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2002  ประกอบด้วยการจัดทำรายชื่อผู้หางาน และให้การสนับสนุนในการฝึกงานและหางานให้  การให้มีการจ้างงานโดยบริษัทเอกชนโดยรัฐเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย  การสนับสนุนให้มีการทำงานในหน่วยงาน/บริษัทเป็นการชั่วคราวการลงทุนในการก่อ สร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนให้คนมีงานทำ  การให้เงินอุดหนุนแก่บุคลากรที่ได้รายได้น้อย
              – การ ออกใบอนุญาต Green card  เมื่อ 31 พฤษภาคม 2543 ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2543  การออกใบอนุญาตดังกล่าว มีหลักการว่า ภายในระยะเวลา 3 ปี  ชาวต่างชาติที่มิได้เป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป สามารถเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ได้ โดยผู้ประสงค์ขอ Green Card จะต้องมีคุณสมบัติจบมหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ IT และจะต้องได้รับการว่าจ้างจากบริษัทเยอรมัน   ทั้งนี้ ใบอนุญาตให้ทำงานด้าน IT จะมีอายุ 5 ปี ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตสามารถเปลี่ยนงานและขยายเวลาการพำนักในสหพันธ์ฯ ได้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยถิ่นที่อยู่  นอกจากนี้ นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในสาขาดังกล่าวสามารถขยายระยะเวลาการพำนักอยู่ใน สหพันธ์ฯ เพื่อทำงานด้าน IT ได้
              – รัฐบาล ได้เจรจากับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับมาตรการในการขยายตลาดแรงงาน   และดำเนินนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  โดยที่ผ่านมา ได้มีการประมูลขาย wireless telephone licenses ของ Universal Modem Telecommunications System (UMTS) เมื่อปี 2543  และวิสาหกิจอื่น ๆ รวมถึงการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
              – การ ออกกฎหมาย Hartz Act  เพื่อพัฒนาตลาดแรงงานให้มีการจ้างงานที่หลากหลายมากขึ้น โดยมีการจัดตั้งศูนย์จัดหางาน  จัดทำแผนพัฒนาระบบการศึกษา  และโครงการ “Bridges to self employment” หรือ Ich-AGs  เป็นต้น โดยมีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2546
              – การออกระเบียบให้ผู้ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 400 ยูโร ได้รับการยกเว้นภาษีและการจ่ายประกันสังคม  โดยนายจ้างจะเป็นผู้ที่ชำระภาษีแทนในสัดส่วนร้อยละ 25  สำหรับผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 400 ยูโร จนถึง 800 ยูโร ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าประกันสังคมเต็มจำนวน  โดยระเบียบมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2546
              – การ ออกระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับ เงินช่วยเหลือสำหรับผู้ตกงาน ความคุ้มครองการถูกเลิกจ้าง  และกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ  โดยกำหนดว่า (1)  ผู้ที่ตกงานจะได้รับเงินช่วยเหลือ สูงสุดเพียง 12 เดือน และผู้ตกงานที่มีอายุสูงกว่า 55 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุด 18 เดือน    (2)  ลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายไม่ให้ถูกเลิกจ้างก็ต่อเมื่อกิจการนั้น มีจำนวนลูกจ้างมากกว่า 10 คนขึ้นไป โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547  และ (3) กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพ 40 ประเภท  (จากเดิม 94 ประเภท) จะต้องมี master’s certificate ก่อนที่จะตั้งบริษัทหรือทำธุรกิจส่วนตัว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547      นอกจากนี้   รัฐบาลยังกำหนดให้ Federal Employment Agency เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการให้สวัสดิการแก่ผู้ตกงานเป็นเวลานานและผู้ ที่กำลังหางานหากยังไม่มีหน่วยงานอื่นใดให้ความช่วยเหลือ  
              – รัฐบาล ประกาศใช้กฎหมายเงินช่วยค่าตกงานแผนใหม่ (Arbeitslosengeld II – ALG) ภายใต้กฎหมาย Hartz Act แก้ไขครั้งที่ 4 หรือที่เรียกว่า Hartz IV ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2548 โดยกฎหมายได้กำหนดแผนจ่ายเงินสงเคราะห์ผู้ตกงานว่า รัฐจะจ่ายเงินสงเคราะห์ซึ่งเป็นเงินค่าเช่าบ้าน และเงินช่วยค่าครองชีพรวมเข้าด้วยกัน และจะคำนวณเงิน ALG ตามสภาพเศรษฐกิจของผู้ขอ คือ รายได้ ทรัพย์สิน จำนวนบุตร และความเจ็บป่วยของผู้ตกงาน เป็นต้น

2.2 กฎหมาย Immigration Law                 
        กฎหมาย Immigration Law หรือ Zuwanderungsgesetz ฉบับแก้ไขใหม่ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน ดังนี้ 
              – การ กำหนด Residence Permit ตามกฎหมาย (Aufenhaltsgesetz) ซึ่งโดยเนื้อหาไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือการกำหนดประเภทของ residence permit เป็นสองประเภทคือ limited residence permit (befristete Aufenthaltserlaubnis) และ unlimited residence permit
(unbefristete Aufenthaltserlaubnis) 
              – การ กำหนดให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนในสหพันธ์ฯ ตั้งแต่ 1 ล้านยูโรขึ้นไป และการลงทุนดังกล่าวก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างน้อย 10 ตำแหน่ง สามารถได้รับ unlimited residence permit  และนักศึกษาต่างชาติที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในสหพันธ์ฯ สามารถอยู่ในสหพันธ์ฯ และหางานในสหพันธ์ฯ ได้อีก 1 ปี
              – กำหนดให้ชาวต่างชาติที่เป็น high qualified workers สามารถเข้ามาทำงานและอยู่ในสหพันธ์ฯ ถาวรได้ หากมีงานรองรับ
              – ชาวต่างชาติที่พำนักในสหพันธ์ฯ ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากเงินตกงาน สามารถขอรับการฝึกภาษาเยอรมันเพิ่มเติม
              – การลดข้อจำกัดให้เด็กชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาอยู่ร่วมกับบิดามารดาในสหพันธ์ฯ ได้ตั้งแต่อายุ 12 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ 16 ปี กฎหมาย Immigration Law ฉบับใหม่อาจเป็นการเพิ่มโอกาสแก่ผู้ประกอบการของไทยในการเข้ามาลงทุนใน สหพันธ์ฯ  การเพิ่มโอกาสแก่ high qualified workers ในสาขา IT และวิทยาศาสตร์ และการเพิ่มทักษะด้านภาษาแก่ชาวไทยที่พำนักในสหพันธ์ฯ   ในส่วนของผลกระทบต่อแรงงานไทยและคนไทยที่เข้ามาทำงานและตั้งรกรากในสหพันธ์ฯ โดยเฉพาะในเรื่อง work permit นั้น มีไม่มากนัก เนื่องจาก  (1) แรงงานไทยที่เข้ามาทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางเข้ามาเป็นผู้ประกอบอาหารไทย ส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในลักษณะพิเศษ คือ เป็นการประกอบอาชีพเฉพาะ  และจะต้องเดินทางกลับภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งในกรณีนี้  หากแรงงานไทยแต่งงานกับชาวเยอรมันจะได้รับ residence permit (befristete Aufenthaltserlaubnis) และสามารถขอ work permit  (Arbeitsberechtigung) ได้   (2) หญิง/ชายไทยที่แต่งงานกับชาวเยอรมันจะได้รับ residence permit (befristete Aufenthaltserlaubnis) และสามารถขอ work permit  (Arbeitsberechtigung)   ทั้งนี้  หากอายุการแต่งงานเกินกว่า 3 ปี สามารถขอต่อ residence permit ในรูปของ unbefristete Aufenthaltserlaubnisได้ ซึ่งจะไม่จำกัดประเภทของการทำงานอยู่แล้ว


3154
TOP