Skip to main content

หน้าหลัก

แนวโน้มและโอกาสของแรงงานไทย

โอกาสของแรงงานไทย

 

     นอกเหนือจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตและมีคนว่างงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้สหพันธ์ฯ ไม่เปิดรับแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหพันธ์ฯ ได้ห้ามการนำแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2516   อย่างไรก็ดี  ในปี 2533 รัฐบาลสหพันธ์ฯ

ได้ผ่อนผันให้แรงงานต่างชาติเดินทางมาทำงานในประเทศได้ โดยทำสัญญาจ้างงานระยะสั้น ในรูปของ seasonal workers, guest workers, และ project-links workers ซึ่งในกรณีนี้ ส่วนมากจะเป็นแรงงานจากตุรกีและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใหม่ที่จะเดินทางเข้ามาทำงาน  และได้อนุญาตให้ skilled laborsซึ่งระบุว่าเป็น scientists และ artists เข้าทำงานได้  ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ประกอบอาหารไทยสามารถ

เข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ได้ตามกฎหมายในลักษณะของ artists   นอกจากนี้  ในปี 2543 สหพันธ์ฯ

ได้แก้ไขกฎหมายโดยอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพพิเศษด้าน IT สามารถเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ ได้  สำหรับโอกาสของแรงงานไทยที่จะเข้ามาทำงานในสหพันธ์ฯ นั้น   สรุปได้ในสาขาต่างๆ

ดังนี้

 

     สาขา IT

 

          ปัจจุบัน สหพันธ์ฯ ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในด้าน IT โดยเปิดรับให้แรงงานต่างชาติได้เข้ามาทำ

งานในสาขาดังกล่าว โดยเฉพาะสาขา computer science, IT-system developer, internet and network specialists, software programmer และ developers of circuits and multimedia specialist โดยในแต่ละรัฐในสหพันธ์ฯ มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างกันและในจำนวนที่ต่างกัน  ทั้งนี้ ในรัฐ Nordrheinwestfalen, Bayern และ Baden-Wuerttemberg  มีความต้องการ computer scientist และ IT-system electrician  ค่อนข้างสูง 

          จากรายงานของ Deutsche Welle  ระบุว่า จนถึงเดือนตุลาคม 2547  มีชาวต่างชาติได้รับ Green Card รวม 17,177 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ถึงหนึ่งในสี่  ตามด้วยชาวโรมาเนีย รัสเซีย โปแลนด์และจีน  โดยชาวต่างชาติที่ได้รับ Green Card ประมาณ 12,000 คน ได้ทำสัญญาจ้างงานระยะยาวกับบริษัทในสหพันธ์ฯ  ส่วนที่เหลือได้ทำสัญญาจ้างงานระยะสั้นประมาณ 1- 3 เดือน   อย่างไรก็ดี ชาวต่างชาติที่ได้รับ Green Card มีจำนวนน้อยกว่าที่รัฐบาลคาดหวังไว้ คือประมาณ 20,000 คน (ภายในระยะเวลา 5 ปี)  แต่ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็เนื่องจาก อุปสงค์ของบริษัทเยอรมันมีน้อย เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 

 

     การนวดแผนไทย

 

       ภาพรวมธุรกิจ Spa ในสหพันธ์ฯ 

          จากรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงเบอร์ลิน ระบุว่า ปัจจุบัน ในสหพันธ์ฯ มีสถานบริการประเภท Spa และ Wellness รวมถึงการนวดตัวซึ่งเป็นบริการประเภทหนึ่งในสถานบำบัดสำหรับคนไข้ที่ต้องพักฟื้น จำนวนกว่า 1,300 แห่งมีการให้บริการแพร่หลายทั่วประเทศและในแต่ละปีมีรายได้เป็นมูลค่าประมาณ 3 พันล้านยูโร ทั้งนี้ สหพันธ์ฯ มีประชากรกว่า 82 ล้านคน และในแต่ละปีมีคนป่วยและคนไข้ที่ต้องพักฟื้นในสถานบำบัดมีจำนวนกว่า 1 ล้านคน  โดยผู้ใช้บริการประเภทนี้เกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่มีประกันสุขภาพ รายจ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำนักงานประกันสุขภาพจะเป็นผู้ออกให้ทั้งหมด มีบ้างเล็กน้อยที่ออกค่าใช้จ่ายกันเองซึ่งจะเป็นผู้ที่มีฐานะดี มีรายได้สูง  ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยจะมีราคาตั้งแต่ 30 – 50 ยูโรต่อครั้งและตามปริมาณหรือประเภทของการให้บริการ ได้แก่  

(1) การนวดทั้งตัว หรือบางส่วน

(2) การอบไอน้ำ อาบน้ำแร่  

(3) ยิมนาสติกธรรมดาและในน้ำ  

(4) การพอกตัว พอกหน้า  

(5) การฝังเข็ม   การนวดที่แพร่หลายในสหพันธ์ฯ ได้แก่ การนวดน้ำมัน ใช้เครื่องหมอต่างๆ แบบ Aryurveda  แบบจีน และแบบไทย 

 

        โอกาสในการประกอบธุรกิจการนวดแผนไทย

            ธุรกิจการนวดแผนไทยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ โดยการนวดแผนโบราณของไทยเป็นที่รู้จักดีของชาวเยอรมันที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และปัจจุบันมีการให้บริการประเภทนี้ในสหพันธ์ฯ บ้างแล้ว โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ๆ โดยที่เจ้าของสถานบริการมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ  อย่างไรก็ตาม  บริการของไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับของทางการสหพันธ์ฯ โดยเฉพาะจากสมาคมต่างๆ ของอาชีพ

นี้ โดยเห็นว่า การนวดแบบไทยมีลักษณะเป็นการรักษาโรค  จึงควรอยู่ภายใต้การกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องผ่านการศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้  ทั้งนี้ ยังมีคนไทยบางส่วนที่มีถิ่นพำนักในสหพันธ์ฯ และมีความสามารถในการนวด  รับจ้างนวดตามบ้านอย่างไม่เปิดเผย ซึ่งมีรายได้ตกประมาณครั้งละ 30 ยูโรในส่วนของการจัดตั้งสถานประกอบการ spa และ wellness โดยให้มีการนวดแผนไทยด้วยนั้น  สามารถกระทำได้  หากผู้ประกอบวิชาชีพได้รับการตรวจลงตราและใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพ  และต้องเจรจาทำความตกลงกับสมาคมอาชีพของสหพันธ์ฯ ให้ยอมรับว่า การนวดของไทยมิใช่การรักษาโรคโดยตรง  แต่เป็นการนวดเพื่อการผ่อนคลาย 

 

         การให้บริการแอบแฝง

             เป็นที่ทราบดีอยู่ว่า การให้ใบอนุญาตทำงานในสหพันธ์ฯ นั้น เป็นไปด้วยความลำบาก  โดยเฉพาะการขอเข้ามาทำงานในฐานะผู้ให้บริการนวดแผนไทย  เนื่องจากทางการสหพันธ์ฯ มิได้ตีความ

การเข้ามาทำงานเพื่อให้บริการนวดแผนโบราณในรูปของ artists ดังเช่นกรณีของผู้ประกอบอาหารไทย  และแม้กระทั่งการขอรับการตรวจลงตราเพื่อเข้ามาเป็นครูสอนนวดแผนไทย ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากนอกจากนี้ ไม่อาจปฏิเสธความจริงได้ว่า  หลายปีที่ผ่านมา แม้จะมีโรงเรียนสอนการนวดแผนไทยในสหพันธ์ฯ และมีสถานประกอบการให้บริการนวดแผนไทยหลายแห่ง ซึ่งต้องประชาสัมพันธ์ว่าสถานบริการของตน ไม่มีบริการทางเพศนั้น  ยังมีการให้สถานบริการนวดแผนไทยหลายแห่ง  ซึ่งให้บริการแบบ private (มิได้จดทะเบียนการค้า) อาจมีการขายบริการทางเพศแอบแฝง  นอกจากนี้ ในหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร หลายฉบับ ยังได้มีการโฆษณา การให้บริการทางเพศ โดยอาศัยชื่อการนวดแผนไทยและโฆษณาว่าในรูปแบบของ Erotic Thai Massage ด้วย  ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ให้บริการดังกล่าว มิได้เข้าสหพันธ์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานให้บริการนวดแผนไทยโดยตรง แต่เป็นการเข้าเมืองโดยการสมรส ซึ่งผู้ให้บริการดังกล่าวจะได้ residence permit และ work permit ตามกฎหมาย  

 

     ธุรกิจร้านอาหารไทย 

 

        สถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารไทย                

              ในปัจจุบัน มีผู้สนใจดำเนินกิจการร้านอาหารไทยในสหพันธ์ฯ ค่อนข้างมาก โดยในสหพันธ์ฯ มีร้านอาหารไทยเกือบ 600 ร้าน และตั้งอยู่ในเมืองใหญ่  เช่น กรุงเบอร์ลิน  นครมิวนิค  นครฮัมบรูก เป็นต้น  อย่างไรก็ดี   ร้านอาหารส่วนใหญ่ ประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อใช้ในการขยายกิจการ และสภาพเศรษฐกิจของสหพันธ์ฯ ที่ยังอยู่ในระหว่างการฟื้นตัว และราคาต้นทุนในการขนส่งที่สูง ซึ่งมีผลต่อต้นทุนประกอบการ

              จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน  ระบุว่า แรงงานไทยที่ไปทำงานเป็นผู้ประกอบอาหารไทยอยู่ในสหพันธ์ฯ มีราว 5000 คน โดยอัตราค่าจ้างสำหรับตำแหน่งผู้ประกอบอาหารไทยจากประเทศไทยจะอยู่ราว  60,000 บาทต่อเดือน (อัตราสูงสุด) โดยทางรัฐบาลสหพันธ์ฯ จะออกตรวจลงตราประเภททำงานให้ไม่เกิน 4 ปี    หากทำงานในสหพันธ์ฯ ครบกำหนดแล้ว จะต้องเดินทางออกจากสหพันธ์ฯ ทันที อย่างไรก็ดี   รัฐบาลสหพันธ์ฯ อนุญาตให้ร้านอาหารไทย นำเข้าแรงงานไทยเฉพาะตำแหน่งผู้ประกอบการอาหารไทยเท่านั้น โดยมีอัตราไม่เกิน 2-5 คน โดยพิจารณาจากรายได้ต่อการขายต่อคน และแรงงานไทยที่จะไปทำงานต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานทุกคน 

 

        การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน

                แรงงานไทยที่จะทำงานเป็นผู้ประกอบอาหารไทยที่สหพันธ์ฯ ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยสถานทดสอบฝีมือผู้ประกอบอาหารไทยที่สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมัน (ZIHOGA) ยอมรับได้แก่ 

 

SWISS-THAI CULINARY EDUCATION CENTER

Herr Marco Brüschweiler

21 / 848 หมู่ 12 ซอย 4 ถนนบางนาตราด กม. 2

บางนา กทม. 10260 โทร/แฟกซ์: 0066-2-749 39 33

E-Mail: thaicook@loxinfo.co.th

 

DUSIT THANI COLLEGE วิทยาลัยดุสิตธานี

902 หมู่ 6 ถนนศรีนครินทร์ ซีคอนสเเควร์

บางบอน เขตประเวศ กทม. 10260 

โทร: 0066-2 -61 7 805  แฟกซ์: 0066-2-361 7 811 ถึง 3 

E-Mail: veera@dusit.com

 

RAJABAT INSTITUTE SUAN DUSIT สถาบันราชภัฎสวนดุสิต

295 ถนนราชสีมา เขตดุสิต  กทม. 10300

โทร: 0066-2-668 7450 ถึง 9 ต่อ 1161 , 1171 

แฟกซ์: 0066-2-243 5779

E-Mail: icis_suandusit@hotmail.com

 

       ขั้นตอนการส่งออกผู้ประกอบอาหารไทย

            จากเอกสารที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสมาคมร้านอาหารไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระบุว่า กระทรวงแรงงานได้แจ้งข้อมูลความพร้อมและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการผลิต และส่งออกผู้ประกอบอาหารไทยไปต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการจัดหางานและกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนี้

              – การจัดส่งคนครัวไทยไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อย ในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ  กรมการจัดหางานโดยศูนย์ทะเบียนคนหางาน และการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐได้ให้บริการคัดเลือกและจัดส่งคนหางานไปทำงานกับนายจ้างต่างประเทศ โดยขอให้นายจ้างที่มีความประสงค์ จะจ้างคนครัวไทย ยื่นคำร้องขอเป็นหนังสือต่อกรมการจัดหางาน หรือสำนักแรงงานไทย ที่ประจำอยู่ในประเทศภูมิลำเนาของนายจ้าง กรณีที่ไม่มีสำนักแรงงานไทยดังกล่าว ให้ยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ประจำประเทศนั้น พร้อมเอกสารดังนี้

 

                        ก) หนังสือมอบอำนาจให้กรมการจัดหางาน เป็นตัวแทน ในการจัดส่งคนหางาน เพื่อ                     ไปทำงานในต่าง ประเทศ  (Power of Attorney) 

                        ข) หนังสือแสดงความต้องการจ้างคนหางานในตำแหน่งต่างๆ และจำนวนที่ต้องการ                      จ้าง เงื่อนไขการจ้าง โดยระบุตำแหน่งงาน ประเภท หรือลักษณะของงาน อัตราค่าจ้าง                        ชั่วโมงการทำงาน ระยะเวลาการจ้าง และสวัสดิการอื่นๆ ที่ลูกจ้างจะได้รับ (Demand                            Letter) 

                        ค) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของนายจ้าง( ถ้ามี) (Company                                  Registration Documentation )

                        ง) สัญญาจ้างที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม    (2)(Employment                              Contract ) 

                        จ) เอกสารราชการของประเทศนายจ้าง ที่อนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติ ให้เข้าไปทำงานในประเทศนั้นได้ (Document granting permission for the Thai Workers to work in the country )  

 

              – การพัฒนายกระดับฝีมือของคนครัวไทย  กรมการจัดหางานจะประสานงาน และเรียกผู้ที่ลงทะเบียนในศูนย์ทะเบียนคนหางาน เพื่อเข้ารับการอบรม เพื่อยกระดับฝีมือของคนครัวไทย ที่กรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่จะจัดขึ้น

             – การดำเนินการฝึกอบรม และทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีรายละเอียดดังนี้

                     ก. การทดสอบฝีมือแรงงาน ในสาขาผู้ประกอบอาหารไทย สำหรับผู้ประกอบอาหารไทย               ที่มีฝีมือและประสบการณ์ในการทำงานแล้ว เพื่อไปทำงานในต่างประเทศ โดยแบ่งการทดสอบ               มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ คือ

                                  ระดับ 1 ผู้ช่วยพ่อครัว แม่ครัว 

                                  ระดับ 2 พ่อครัว แม่ครัว

                                  ระดับ 3 หัวหน้า พ่อครัว แม่ครัว

 

                     ข. การฝึกอบรมการประกอบอาหารไทย โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค และศูนย์                 พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งมีการบริการฝึกอบรม การประกอบ                 อาหารไทย ดังนี้ 

                                  (1) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน สำหรับผู้ที่ยังไม่มีทักษะฝีมือ  (2) การฝึกยกระดับฝีมือสำหรับผู้ที่มีทักษะฝีมือพื้นฐานอยู่แล้ว สามารถจัดหลักสูตรตามความเหมาะสม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย และตามความต้องการของนายจ้าง เป็นการเฉพาะ  ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมการจัดหางาน โทร. และ โทรสาร: 02 – 245 18 31  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทร. 02 – 245 -57 85 โทรสาร: 02 – 248 36 71


1604
TOP