Skip to main content

หน้าหลัก

ฝ่ายแรงงาน ประจำ สอท.ณ กรุงเบอร์ลิน : ขั้นตอนการจ้างแรงงาน พ่อครัว/แม่ครัวพิเศษจากประเทศไทยเข้ามาทำงานที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ขั้นตอนการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวพิเศษ จากประเทศไทย
สำหรับภัตตาคารอาหารไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

1. นายจ้างเตรียมสัญญาจ้างงาน และคัดเลือกพ่อครัวหรือแม่ครัวจากประเทศไทย ซึ่งพ่อครัวหรือแม่ครัว
ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง ดังนี้

– สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด
– โรงแรียน Swiss Thai Culinary Education Center
– สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
– วิทยาลัยดุสิตธานี

2. ตัวอย่างสัญญาจ้างงาน พ่อครัว/แม่ครัวพิเศษ และขั้นตอนการรับรองสัญญาฯของฝ่ายแรงงาน (กรุณาติดต่อฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน)
3. นายจ้างส่งเนื้อหาสัญญาจ้างฯที่เตรียมไว้ให้ฝ่ายแรงงานฯ พิจารณา
4. ฝ่ายแรงงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าสัญญาจ้างฯเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
5. นายจ้างนำสัญญาต้นฉบับภาษาเยอรมันนี้ไปให้ล่ามที่มีใบอนุญาตแปล
6. ล่ามแปลสัญญาจ้างฯและประทับตราล่าม (หากนายจ้างใช้ตัวอย่างสัญญาจ้างจากฝ่ายแรงงานฯ จะร่นระยะเวลาการทำงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)
7. นายจ้างเซ็นต์ชื่อในสัญญาจ้างฯ และส่งให้ลูกจ้างเซ็นต์
8. ลูกจ้างตรวจสุขภาพเพื่อมาทำงานต่างประเทศ
9. นายจ้างติดต่อ Ausländerbehörde ในเขตที่เปิดร้านอาหารและลูกจ้างจะอาศัยอยู่ แจ้งว่าต้องการจ้างพ่อครัวฯจากประเทศไทยนายจ้างกรอกใบคำร้อง Stellenbeschreibung
10. ลูกจ้างส่งสัญญาจ้างฯกลับมาที่เยอรมนีให้นายจ้าง
11. นายจ้างส่งสัญญาจ้างฯ (ที่ทั้งนายจ้าง/ลูกจ้างเซ็นต์แล้ว และมีลายเซ็นต์ของล่ามกำกับในฉบับแปล)มาให้ฝ่ายแรงงานฯอีกครั้ง พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้

– ใบคำร้องขอรับรองสัญญาจ้างฯ
– สำเนาบัตรประชาชน หรือ passport ของนายจ้างและลูกจ้าง
– สำเนา Gewerbeanmeldung
– ซองเปล่า จ่าหน้าซองถึงนายจ้าง และติดแสตมป์
– ที่อยู่ของฝ่ายแรงงานฯ
Office of Labour Affairs
Royal Thai Embassy
Lepsius Str. 64/66
12163 Berlin

12. ฝ่ายแรงงานฯรับรองสัญญาจ้างฯ
13. ฝ่ายแรงงานฯส่งสัญญาจ้างฯที่ผ่านการรับรองแล้วให้นายจ้าง
14. นายจ้างส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ลูกจ้าง เพื่อลูกจ้างนำเอกสารดังกล่าวไปขอวีซ่า ที่สถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย

– สัญญาจ้างฯที่ผ่านการรับรองแล้วจากฝ่ายแรงงานฯ
– สำเนา Gewerbeanmeldung
– สำเนา Gaststätteerlaubnis
– สำเนา เอกสารของนายจ้าง เช่น Passport
– รายละเอียดเรื่องที่พักของลูกจ้างที่นายจ้างจะจัดหาให้

15. นอกจากนี้เอกสารที่ลูกจ้างต้องใช้เพื่อการขอวีซ่า เช่น

– ใบผ่านการทดสอบจากโรงเรียนทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จากข้อ 1
– หนังสือรับรองจากนายจ้างเดิม หรือบริษัทเดิมที่ลูกจ้างเคยทำงาน
– ใบตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศ

16. หากเอกสารทุกอย่างครบถ้วน จะใช้เวลาตั้งแต่การขอวีซ่าและรอผลทั้งหมด ประมาณ 12 สัปดาห์
17. เมื่อลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ให้ลูกจ้างไปขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ ฝ่ายพิจารณา
อนุญาตไปทำงาน สำนักงานบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรง
งาน ดินแดง กทม. (หรือ สำนักงานแรงงานจังหวัด ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนา)
18. ลูกจ้างรอรับใบอนุญาตไปทำงานฯ หากไม่ได้ใบอนุญาตนี้ ลูกจ้างจะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้
19. ลูกจ้างเดินทางมาทำงานที่ประเทศเยอรมนี
20. นายจ้างพาลูกจ้างไปทำ Anmeldung ที่สำนักงานเขต ที่ลูกจ้างอาศัยอยู่
21. เมื่อลูกจ้างเดินทางมาถึงประมาณ 1 เดือน นายจ้างพาลูกจ้างไปรายงานตัวและต่อวีซ่าที่ Ausländerbehörde
22. การทำงานเป็นพ่อครัวฯ ดังกล่าวนี้ ทางการเยอรมันจะให้วีซ่าทำงานไม่เกิน 4 ปี เมื่อหมดสัญญาฯ
ลูกจ้างต้องเดินทางกลับประเทศไทย และจะสามารถกลับมาทำงานเป็นพ่อครัวฯอีกครั้ง หลังจากนั้น 3 ปี

……………………………………..


ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
สิงหาคม 2555


406
TOP