Skip to main content

หน้าหลัก

ฝ่ายแรงงาน ประจำ สอท. ณ กรุงเบอร์ลิน : สถานการณ์ด้านแรงงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เรื่อง ระบบ Dual System ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

สถานการณ์ด้านแรงงานในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

เอกสารหมายเลข 1

ฝ่ายแรงงานฯ

16 ก.ค. 56

 

ระบบ  Dual System ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

I สถานการณ์ปัจจุบัน

                หลักสูตรฝึกวิชาชีพในระบบ dual system ของสหพันธ์ฯ ซึ่งรวมการฝึกภาคปฏิบัติในบริษัทและภาคทฤษฎีในสถาบันการศึกษานั้นมีประวัติที่ยาวนาน  ทั้งนี้เป้าหมายด้านการฝึกวิชาชีพของสหภาพยุโรปจนถึงปี 2563 เน้นการปฏิรูประบบการฝึกอบรมแห่งชาติบนหลักการของระบบ dual training system ของสหพันธ์ฯ  เนื่องจากความเสถียรของระบบในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกและจากการที่สหพันธ์ฯ ครองตำแหน่งแรงงานฝีมือในระดับต้น  ซึ่งการที่ผู้ฝึกเข้าสู่ตลาดแรงงานภายหลังการฝึกอบรมและการว่างงานของเยาวชนที่มีอัตราต่ำ ได้จุดประกายให้เกิดการอภิปรายถึงโครงสร้างของระบบการศึกษาและระบบการจ้างงานในประเทศต่างๆ ด้วย  ประมาณ 2 ใน 3 ของนักศึกษาในสหพันธ์ฯ ได้เลือกเข้ารับการฝึกในระบบ dual system จำนวนคนหนุ่มสาวที่เข้ารับการฝึกมีทั้งสิ้นกว่า 1.5 ล้านคน

 

                ระบบ dual system ก่อให้เกิดประโยชน์เหล่านี้:

                ประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ :

         

                จำนวนแรงงานฝีมือมีเพียงพอ

                ลดค่าใช้จ่ายในการรับลูกจ้างใหม่เข้าทำงาน

                ก่อให้เกิดแรงจูงใจและความจงรักภักดีกับบริษัทมากยิ่งขึ้น

                ทักษะฝีมือที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจอย่างแท้จริง

                ผู้รับการฝึกอบรมมีส่วนสนับสนุนผลิตภาพของบริษัท

                ประโยชน์สำหรับคนหนุ่มสาว :       

                โอกาสที่ดีในตลาดแรงงาน         

                ได้รับการรับรองคุณสมบัติ         

                ทักษะในด้านที่ได้ฝึกภาคปฏิบัติ         

                ค่าตอบแทน         

                โอกาสในวิชาชีพ         

                สามารถรวมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทได้อย่างรวดเร็ว

 

                กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์ฯ เป็นหน่วยงานควบคุมระเบียบกฎหมายสำหรับ 330 หลักสูตรจากหลักสูตรฝึกอบรมในปัจจุบันทั้งสิ้น 348 หลักสูตรที่มีอยู่ในสหพันธ์ฯ และมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมการฝึกวิชาชีพในระบบ dual system  นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมระเบียบกฎหมายสำหรับการสอบ master craftsman ทั้งหมดในภาคงานฝีมือ  ทั้งนี้ธุรกิจในสหพันธ์ฯ  99.7 เปอร์เซนต์เป็น SMEs และมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของสหพันธ์ฯ ในแง่ของการเริ่มต้นธุรกิจ และ     การสร้างงาน ดังนั้นกระทรวงเศรษฐกิจฯ จึงมุ่งที่จะทำให้มั่นใจว่าการฝึกวิชาชีพต้องมีการฝึกปฏิบัติร่วม     อยู่ด้วย โดยได้ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยแห่งสหพันธ์ฯ เพื่อทำการพัฒนาระบบฝึกอบรมใน dual system อย่างต่อเนื่อง และนำเสนอผลที่ได้ต่อคณะกรรมาธิการยุโรป และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ โดยกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์ฯ เป็นหน่วยประสานงานหลักกับผู้แทนจากต่างประเทศที่ประสงค์จะรับทราบเรื่องการฝึกวิชาชีพของสหพันธ์ฯ

 

II            โครงสร้างของการฝึกวิชาชีพแบบ dual system

  1.   การฝึกภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและภาคทฤษฎี  แนวคิดหลักของการฝึกวิชาชีพแบบ dual system คือการฝึกอบรมทั้งในบริษัทและสถาบันอาชีวศึกษาควบคู่กันไป โดยบริษัทจะจัดให้ผู้รับการฝึกได้ฝึกงานเป็นเวลา 3-4 วันต่อสัปดาห์  และสถาบันอาชีวศึกษาให้ความรู้ด้านทฤษฎีอีก 1-2 วัน โดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทต่างๆ จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการฝึกให้ผู้รับการฝึกได้ฝึกอบรมให้ตรงกับสายงาน (learning on the job) รวมทั้งมีส่วนในการวางระเบียบการฝึกอบรม กำหนดเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมและกำหนดการทดสอบที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ดำเนินการไปนี้จะเป็นที่ยอมรับของทางบริษัท

 

  1.  การจัดทำเนื้อหาหลักสูตรและการทดสอบให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วสหพันธ์ฯ  การฝึกที่บริษัท   จะอยู่ภายใต้ระเบียบว่าด้วยการฝึกอบรมซึ่งกำหนดรูปแบบเนื้อหา ตารางและการทดสอบที่ได้มาตรฐาน     ทั่วประเทศ ซึ่งมาตรฐานแห่งชาติและคุณสมบัติที่ได้การยอมรับทั่วประเทศจะเปรียบเสมือนเกณฑ์คุณภาพให้กับนายจ้างและเป็นพื้นฐานในการคัดเลือก ทำให้ลูกจ้างหางานใหม่ได้เร็วขึ้น

 

  1.   การปรับการฝึกอบรมให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความก้าวหน้าทางเทคนิคและความเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจ ทั้งนี้จะมีการทบทวนระเบียบการฝึกอบรมตามความก้าวหน้าของเทคนิค พัฒนาการด้านวิชาชีพ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม  ซึ่งรวมการปรับระเบียบให้ทันสมัยหรือสร้างระเบียบใหม่ที่สนองตอบความต้องการทางธุรกิจ  การมีลูกจ้างซึ่งผ่านการฝึกตรงกับพัฒนาการทางเทคนิคล่าสุดจะมีผลกระทบเชิงบวกต่อนวัตกรรมและต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัท  ทั้งนี้จะมีการกำหนดคุณสมบัติการฝึกวิชาชีพในภาคธุรกิจทุกด้าน โดยการฝึกจะมีระยะเวลาตั้งแต่สองปีถึงสามปีครึ่ง

 

  1.  การประสานงานระหว่างนายจ้างและสหภาพ เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติทางวิชาชีพ  หรือความก้าวหน้าทางเทคนิคที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาชีพที่สร้างขึ้นมาใหม่  โดยปกติแล้วองค์กรของนายจ้างมักเป็นผู้ดำเนินการ และเมื่อทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพแรงงาน กระทรวงที่ดูแลเรื่องนี้(โดยปกติคือกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของสหพันธ์ฯ) จะประชุมกับรัฐต่างๆ ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อพิจารณาว่าควรต้องดำเนินการตามข้อริเริ่มหรือไม่ หากเห็นควรต้องดำเนินการ ก็จะมีการจัดทำคุณสมบัติการฝึกอบรมให้ทันสมัยหรือสร้างคุณสมบัติใหม่ๆ ขึ้นมา โดยประสานงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายนายจ้างและสหภาพแรงงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าคุณสมบัติด้านวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นมานั้นตรงกับความต้องการของธุรกิจอย่างแท้จริง

 

  1.   การผนวกเนื้อหาหลักสูตรทั้งที่เป็นทฤษฎีและปฏิบัติ   ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่เรียบเรียงเนื้อหา ของการฝึกอบรมจะทำงานร่วมกับผู้ที่รับผิดชอบเรื่องหลักสูตรของโรงเรียนอาชีวศึกษา เมื่อใดก็ตามที่มีการปรับคุณสมบัติให้ทันสมัยหรือมีการกำหนดคุณสมบัติใหม่ขึ้นมา จะมีการปรับหลักสูตรที่สอน ณ โรงเรียนอาชีวศึกษาด้วย  โรงเรียนอาชีวศึกษาจะพัฒนาหลักทางทฤษฎีโดยอาศัยฐานจากการฝึกภาคปฏิบัติ  ดังนั้นการฝึกวิชาชีพและการศึกษาจึงได้รับการออกแบบให้สัมพันธ์กัน บริษัทในท้องถิ่นจะทำงานร่วมกับโรงเรียนอาชีวศึกษาซึ่งรับผิดชอบผู้รับการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถผลิตโปรแกรมการฝึกที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับบริษัทและภูมิภาค และนี่คือประเด็นสำคัญของการการประกันคุณภาพของระบบ

 

  1.   การฝึกอบรม inter-company เพื่อสนับสนุนการสอนเฉพาะบางบริษัท เนื่องจากบางบริษัทจะมีความเฉพาะทางเกินกว่าที่จะสามารถบรรจุในเนื้อหาการฝึกอบรมตามที่ระบุไว้ในระเบียบการฝึกอบรมได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะสามารถรับการฝึกอบรมเพิ่มเติม ณ chambers of craft  เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาหลักสูตรที่คงเหลืออยู่  การฝึกอบรมภาคปฏิบัติในลักษณะนี้ทำให้มีหลายบริษัทที่เสนอให้มีผู้เข้าไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมทำให้มีสถานที่ฝึกอบรมมากขึ้น  ทั้งนี้ระบบการฝึกอบรมแบบ  inter-company จะได้รับการสนับด้านเงินทุนจากกระทรวงเศรษฐกิจแห่งสหพันธ์ฯ

 

  1. การฝึกอบรมครูผู้ฝึก  เนื่องจากผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามความต้องการ        ของหน่วยงานทั้งในแง่ของความรู้ความชำนาญและคุณสมบัติเฉพาะบุคคลเพื่อให้สามารถฝึกคนหนุ่มสาวได้อย่างเหมาะสม ซึ่งไม่รวมเฉพาะทักษะทางวิชาชีพเท่านั้นแต่ยังต้องมีทักษะการสอนที่จำเป็นที่ต้องได้ การรับรองด้วยการทดสอบเป็นรายบุคคล เพื่อประกันว่านอกจากจะมีการสอนตามเนื้อหาฝึกอบรมได้อย่างถูกต้องแล้วยังจะมีการวางแผนและดำเนินการสอนตามข้อกำหนดทางกฎหมายและความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งในส่วนของวิธีการและการสอนด้วย

 

  1.   การประกันความสามารถของบริษัทที่จะให้การฝึกอบรมโดยหอการค้า ทั้งนี้หอการค้าจะให้คำแนะนำบริษัทที่ให้การฝึกอบรม ตรวจสอบการฝึกอบรม และพิจารณาความเหมาะสมของบริษัทและผู้สอน จดทะเบียนสัญญาการฝึกอบรมและทำการทดสอบทั่วประเทศ เพื่อทำให้มั่นใจว่ามีคุณภาพในระดับสูง

 

  1. การฝึกอบรมเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับบริษัทตามปกติแล้วการฝึกอบรมวิชาชีพมีประโยชน์ต่อทางบริษัทที่ให้การฝึกอบรมแม้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้างก็ตาม ในส่วนของค่าเบี้ยเลี้ยงที่ต้องให้แก่ผู้รับการฝึกนับแต่วันแรกที่เข้ารับการฝึก ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคืองานที่ผู้รับการฝึกได้ทำระหว่างการฝึกอบรมแต่ประโยชน์ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือบริษัทมีทางเลือกที่จะจ้างให้ผู้ที่เคยฝึกงานได้ทำงานกับบริษัทต่อไป  การทำสัญญากับผู้ฝึกเป็นการถาวรจะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกและนำคนเข้ามาทำงาน และการให้ผู้ฝึกงานได้ทำงานจะช่วยลดการหมุนเวียนของคนงานได้เช่นกัน

 

III.          ข้อตกลงในการฝึกอบรมวิชาชีพ

                แม้การฝึกอบรมวิชาชีพในระบบ dual system จะมีประโยชน์อย่างมากดังได้กล่าวข้างต้น แต่ระบบก็ยังค่อนข้างอ่อนไหวต่อการขึ้นลงของเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้บริษัทจ้างผู้ฝึกงานในช่วง      ที่ประสบปัญหา จึงได้มีการจัดทำข้อตกลงการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมแรงงานหนุ่มสาวที่มีฝีมือระหว่างรัฐบาลสหพันธ์ฯ กับสมาคมธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2547 ภายใต้ความรับผิดชอบหลักของกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์ฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนหนุ่มสาวที่เต็มใจและสามารถเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพได้มีโอกาสฝีกอบรมและสามารถใช้ตลาดการฝึกอบรมที่มีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อรับมือกับปัญหาความขาดแคลนทักษะฝีมือ ข้อตกลงดังกล่าวทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องบังคับเก็บค่าภาษีฝึกอบรมจากบริษัทที่มิได้จัดฝึกอบรม เนื่องจากข้อตกลงนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากจึงได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งที่สองในเดือนตุลาคม 2553 โดยเพิ่มสาขาที่ใหม่และสำคัญในข้อตกลง

 

  1.          บทสรุป

                กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์ฯ ได้ให้ข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกอบรมวิชาชีพในระบบ dual system ที่ชัดเจนเพื่อช่วยให้ประเทศที่สนใจได้พัฒนาแนวทางแก้ไข ทั้งนี้ความสำเร็จของระบบ dual system  ในสหพันธ์ฯ  และในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรียและเดนมาร์คนั้น   มีความเชื่อมโยงกับกำเนิดของระบบ และการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ให้การสนับสนุนข้อตกลง “National Pact to Promote Training and Young Skilled Workers” นั้นย่อมแสดงให้เห็นถึงการยอมรับอย่างกว้างขวางของสังคมที่มีต่อระบบ ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดต่อข้อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์ : buero-IIB4@bmwi.bund.de

 

ที่มา: http://www.bmwi.de/English/Redaktion/Pdf/dual-system-of-vocational-training-germany,property=pdf,bereich=bmwi2012,sprache=en,rwb=true.pdf

 


393
TOP